ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเข้าใจที่เพียงพอ









ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเข้าใจที่เพียงพอ





ความนำ

ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ ก็จะได้เห็นได้ยิน ได้เจอคำว่า

"
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"

อย่างคุ้นชินเสมือนว่า คำๆ นี้ คือ ญาติสนิทมิตรสหายที่เข้ามาทักทายในชีวิตประจำวันอย่างไม่ขาดสาย

แม้ว่าจะคุ้นเคยกันอย่างนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายของ" ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
กันอย่างแท้จริง หลายคนอาจจะทราบว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิงพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสก
นิกรชาวไทยเมื่อครั้งที่ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 แต่การจะเข้าใจให้ลึกซึ้ง เข้าถึงอย่างถูกต้องนั้น แค่ได้ยินได้อ่าน
คงยังไม่เพียงพอจนกว่าจะได้คิดตามไปด้วย

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระดับหนึ่ง
(
จากนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ผู้อ่านไปคิดต่อ)
ผู้เขียนควรจะต้องกล่าวถึงที่มาของแนวคิดนี้ ความหมายคำนิยาม

ตลอดจนการนำแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ




ความเป็นมา


"
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ

ดำเนินชีวิตแกพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี

ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ

และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น

และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ



ความหมาย
*





คำ
นิยามเกี่ยวกับ "
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"
ให้จำได้ง่ายที่สุด คือ
3 ห่วง 2 เงื่อนไข ปัจจัยสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของ 3 ห่วง คือ


1.ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดี (dynamic optimum)
ไม่สุดโต่งจนเกินไป


2.การมีเหตุมีผล (Reasonableness) หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอประมาณโดยคาดผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
นั้น ( expected results) อย่างรอบคอบ


3.มีภูมิคุ้มกันที่ดี (Self-Immunity) เพื่อเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นลักษณะของพัลวัตร ความพอเพียง (
systematic and dynamic optimum)
จึงต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นไปได้ (
scenario)
ในอนาคตภายใต้ข้อจำกัดของความรู้ที่มีอยู่ ( bounded rationality)
ส่วน
2 เงื่อนไขคือ


การมีความรู้ ( Set of knowledge)
คู่คุณธรรม (
Ethical Qualifications)
หากมีสิ่งเหล่านี้ ไม่มีคำว่าไปไม่รอด

ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญมากในการดำเนินชีวิต

เบื้องต้นคงต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป

เงื่อนไขแรก การมีความรู้นั้น

ประกอบไปด้วย รอบรู้ (
Stock of all relevant knowledge)
คือมีความรู้คลอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานการคิดตัดสินใจ

รอบคอบ (
Connectivity of all acquired knowledge ) คือนำความรู้มาพิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันก่อนนำไปประยุกต์ปฏิบัติ และระมัดระวัง (Utilization of knowledge at any poit of time with carefulness and attentiveness)
คือ มีสติในการปฏิบัติเพราะในความเป็นจริง

สถานการณ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


เงื่อนไขที่สอง คุณธรรม ต้องเสริมสร้างใน
2
ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ คือ ซื่อสัตย์ สุจริต และด้านการกระทำ คือ ขยัน อดทน แบ่งปัน

ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความพัฒนาอย่างรอบด้าน คือ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปอย่าง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน


ความไม่เข้าใจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า

"…
เศรษฐกิจพอเพียง ได้พูดหลายต่อหลายครั้ง อธิบายแล้วอธิบายอีก 3 ปีกว่าจะเข้าใจ
… …
ไม่ใช่ดูถูกท่านว่าท่านไม่เข้าใจ… …
แต่เข้าใจผิดมันต่างกัน

ไม่เข้าใจกับเข้าใจผิด ไม่เข้าใจไม่เป็นไร

เพราะถ้าไม่เข้าใจก็จะปฏิบัติไม่ได้ เมื่อไม่เข้าใจไม่ปฏิบัติก็ดีไป

แต่ถ้าเข้าใจผิดและไปปฏิบัติแล้ว

บอกว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นอัจริยะอันนี้เสียหาย
เสียหายต่อส่วนรวมและเสียหายต่อพระเจ้าอยู่หัว
"


เนื่องจาก

รัฐบาลปัจจุบันน้อมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวนโยบายในการบริหาร

ประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความหมายอย่างลึกซึ้ง

เพื่อขับเคลื่อนในเกิดการปฏิบัติอย่างได้ผล แต่ที่เห็นและเป็นอยู่นั้น
พบว่า มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน ทั้งในระดับประเทศ
ระดับผู้บริหารและระดับชุมชน


ความไม่เข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น

เป็นประเด็นสำคัญระดับชาติในทันทีที่มีการแต่งตั้ง

คณะกรรมการประงานงานและกระชับความสำพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เมื่อวันแห่งความรัก (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550) ที่ผ่านมา
ทั้งนี้เพื่อให้การสร้างความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับนานาประเทศดำเนิน
การได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวนโยบายเศรษฐกิจไทย

ซึ่งยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อประเทศ

ตีความได้ว่า

ต่างประเทศเองก็ยังสับสนกับท่าทีของประเทศไทยเรา
แม้กระทั่งในประเทศเราเองก็ยังสับสนว่าจะขยับเขยื้อนไปทางใด
หากพิจารณาความหมายของ ปรัชญาเศราฐกิจพอเพียงอย่างละเอียดจะพบว่า
การพอเพียง ไม่ใช่การพึ่งตนเอง
100%
หรือ
Sufficiency Economy
ไม่ใช่
Self-Sufficiency
เพราะนั่นเท่ากับว่า เกินพอดี

ที่สำคัญอย่าคิดว่าเมืองไทยอยู่คนเดียวได้ ในเมื่อเศรษฐกิจของเราเป็นแบบ

ทุนนิยม ก็คงไม่สามารถจะต้านกระแสโลกาภิวัตน์ได้ จึงต้องรู้อย่างเท่าทัน

นอกจากนี้ การเข้าใจว่า
"
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นเรื่องของคนที่ยากจน
คนที่เกิดวิกฤตในชีวิต ซึ่งเป็นการตีความที่ผิด นำไปสู่ภาพลักษณ์ว่า
ใครที่ใช้หลักคิดนี้ คือคนที่มีปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว
บรรดาผู้มีเงิน หรือเศรษฐีทั้งหลายก็ยิ่งไกลห่างออกจากแนวคิด


ความจริง

แล้ว แนวคิดนี้ เหมาะกับประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนใดของสังคม

กระทั่ง ภาคธุรกิจ ยิ่งสามารถนำไปใช้ได้อย่างดี
เพราะปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่ากมากและรวดเร็ว การลงทุนใดๆ
จึงควรมีความใช้หลักความมีเหตุผล และความรู้ ตลอดจนมีภูมิคุ้มกัน
เพื่อป้องกันเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง


สำหรับผู้ที่รายได้สูงอยู่แล้ว

ก็ไม่รอให้ประสบวิกฤตในชีวิต โดยควรยึดหลักนี้ เพื่อการ
"
ป้องกัน
" มากกว่าที่จะ "แก้ไข"
ยามที่สายเกินไป ย่อมดีกว่ารอให้เกิดความเสียหายก่อน

ในทางปฏิบัติ ก็คงไม่ต้องถึงกับ
"
เลิก" บริโภคสินค้าราคาแพงตามรสนิยม( แต่ถ้าทำได้ก็ดีอย่างยิ่ง) แค่เพียงค่อยๆ
"
ลด" อย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่เปลี่ยนแปลงแบบกลับหลัง
180
องศาเท่านี้ก็ถือว่าได้ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว


ความส่งท้าย

คำ
ว่า พอเพียง เป็นคำที่ไม่ได้มีความหมายตายตัว ด้วยความที่มีลักษณะเป็นพลวัตร จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
คนๆเดียวกัน เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
เส้นแห่งความพอเพียงก็อาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่าว่าแต่ต่างคนต่างจิตต่างใจ
ดังนั้น ความพอเพียงของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และไม่มีเส้นแบ่งที่แน่นอน
แต่หากทุกครั้งที่จะกระทำการใดๆ ได้ระลึกถึง หลัก " 3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ก็เท่ากับว่า
ได้น้อมรับเอาแนวคิดของพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางของชีวิตแล้ว






ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม