โฮมสคูล ไม่ยากอย่างที่คิด
โฮมสคูล คำคุ้นหูที่ได้ยินกันบ่อยๆ แต่จริงๆ แล้ว โฮมสคูลเป็นอย่างไรกันแน่ รักลูกฉบับ พฤศจิกายน มีเรื่องนี้มาฝากคุณๆ ค่ะ
เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ยินคำว่า "โฮมสคูล" บ่อยครั้งขึ้น เมื่อหลายครอบครัวลุกขึ้นมาสอนลูกเองที่บ้าน ประจวบกับกฎหมายคืนสิทธิให้สามารถพ่อแม่จัดการศึกษาให้กับลูกได้ด้วยตนเอง
คำว่า "โฮมสคูล" จึงหอมหวานท่ามกลางความอึดอัดคับข้องใจ ของพ่อแม่ที่มีต่อการศึกษาในระบบ ขณะนี้มีครอบครัวไทยที่จัดการศึกษาให้ลูก ในลักษณะโฮมสคูลไม่น้อยกว่า 50 ครอบครัว และมีผู้สนใจที่จะทำบ้างอีกมากมาย สื่อต่างๆ ก็ให้ความสนใจ ติดตาม นำเสนอแก่สาธารณชน โฮมสคูลกลายเป็นที่ฮือฮา และเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายพยายามวิเคราะห์เจาะลึก บ้างว่าเป็นการเดินตามก้นฝรั่ง บ้างก็ว่าเป็นพวกพ่อแม่แอนตี้โรงเรียน ในทางตรงข้าม ก็ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา ที่คณะปฏิรูปการศึกษาต้องจับตามอง โฮมสคูลน่าจะนำร่องให้เห็นว่า การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(สำคัญ)หรือ childcenter นั้นเป็นอย่างไร
โฮมสคูล เรียนแบบไหน?
เมื่อพูดถึง"โฮมสคูล" หลายคนเกิดภาพว่าคือการเรียนที่บ้าน โดยมีพ่อแม่เป็นผู้สอนแทนครู คำถามแรกที่พ่อแม่โฮมสคูลมักถูกถาม "หลักสูตรเป็นอย่างไร" หลายครั้งไม่มีคำตอบ แม้ว่าโดยหลักการแล้ว กิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กโฮมสคูลจะได้ถูกวางแผนขึ้นอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย เช่น มีสาระและกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล ให้สอดคล้องตรงกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของเด็ก หรือเป็นไปในทางตอบสนองต่อปรัชญา ทัศนะ ความเชื่อ ความสนใจความต้องการหรือปัญหาของแต่ละครอบครัว
แม้จะมีจุดมุ่งหมายและรูปแบบที่แตกต่างกันไปแต่ละบ้าน แต่ก็สรุปได้ว่า โฮมสคูลหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หมายถึงการจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง อาจเป็นผู้จัดการศึกษาเองทั้งหมด โดยพ่อแม่ผู้ปกครองอาจเป็นผู้สอนเอง หรืออำนวยการให้เกิดการเรียนการสอน เช่นจ้างครูมาสอนที่บ้าน หรืออาจมีข้อตกลงจัดการศึกษาร่วมกันกับโรงเรียน เช่น สัปดาห์หนึ่งเรียนในโรงเรียน 3 วัน ที่เหลือพ่อแม่เรียนที่บ้าน หรือเรียนที่โรงเรียนเป็นบางวิชา ฯลฯ หรืออาจจะรวมกลุ่มครอบครัวจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรมการเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้านหรือสภาพการณ์แบบครอบครัว พูดให้ง่ายขึ้นก็คือ พ่อแม่ถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ร่วมกับลูกในทุกแง่มุมของชีวิต อย่างเป็นธรรมชาติผ่านความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก
หลักสูตรจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรก แต่สิ่งสำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องถามตัวเองก่อนว่า เป้าหมายในการทำโฮมสคูลให้ลูกคืออะไร
จากโฮมสคูลมาเป็นบ้านเรียน
ก่อนที่ พ.ร.บ.การศึกษาฉบับปัจจุบันประกาศใช้ กฎหมายยังไม่เปิดช่องให้พ่อแม่จัดการศึกษาให้กับลูกเอง อย่างไรก็ตามไม่อาจปิดกั้นพ่อแม่ที่ต้องการทางเลือก ก่อนปี2530 มีสองครอบครัวที่ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในเมืองไทย
ปี 2522 ครอบครัวคุณพิภพ-คุณรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดการศึกษาให้กับลูกอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนโดยการดูแลของพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ และโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
ถัดมาในปี 2528-2529 ครอบครัวนายแพทย์โชติช่วง-คุณวิจิตรา ชุตินธร จัดการศึกษาให้กับลูกๆ ที่บ้านอย่างแท้จริง ถือเป็นครอบครัวแรกของสังคมไทยในยุคนั้น
หลังจากนั้นก็เริ่มมีครอบครัวโฮมสคูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่รู้จักกันดีในขณะนี้ก็เช่นครอบครัวนายแพทย์พร พันธุ์โอสถ ครอบครัวครูบาสุทธินันท์ ครอบครัวพึ่งอุดม(คุณสยาม-คุณสมพรหรือครูส้ม) ครอบครัวสมพงศ์ (คุณสาทรและคุณจินตนา) ครอบครัวปรัชพฤทธิ์ (ครูบาสุทธินันท์-คุณฉวี) ครอบครัวเหลืองแจ่ม (ดร.เจษฎา-คุณนิราพร) และครอบครัวสบายใจ(นาวาโทสุขสวัสดิ์และคุณกนกพร) โดยส่วนใหญ่ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ พ่อแม่ที่จัดทำโฮมสคูลให้ลูกส่วนใหญ่ก็จะนำชื่อลูก ไปลงทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
สาเหตุการเกิดครอบครัวโฮมสคูลในไทยมีทั้งไม่พอใจ ในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่มีปรัชญาแนวคิด ในเรื่องของชีวิตและการศึกษาที่แตกต่างออกไป ทั้งต้องการพัฒนาลูกตามความถนัดและศักยภาพของลูก เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กสมาธิสั้น ออทิสติก ซึ่งต้องยอมรับกันว่าขณะนี้การศึกษาในระบบยังไม่สามารถรองรับเด็กเหล่านี้ได้เต็มที่
ปัจจุบันมีการเรียกขานโฮมสคูลหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นไทยๆ ว่า "บ้านเรียน" มีการรวมตัวของกลุ่มครอบครัวบ้านเรียน จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เพื่อรวมพลังพ่อแม่บ้านเรียนและจัดกิจกรรมให้กับกลุ่ม
ในด้านกฎหมายแม้ว่าพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะระบุว่าให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีสิทธิในการจัดการศึกษากับลูกที่บ้านได้ รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐ ได้แก่ เงินอุดหนุนและลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา แต่ก็ยังอยู่ในช่วงของการร่างกฎกระทรวง และรอการรับรองอย่างเป็นทางการต่อไป
คาดกันว่าครอบครัวบ้านในเมืองไทยจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่โรงเรียนยังไม่ชัดเจนเรื่อง "ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(สำคัญ)"
อยากเป็นพ่อแม่โฮมสคูล
อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่อยากทำโฮมสคูลไว้ว่า ก่อนทำควรคิดให้รอบคอบว่ามีความพร้อมหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ควรมีความรู้ด้านพัฒนาการและจิตวิทยาของเด็ก และมีความเข้มแข็งพอในการฝึกลูก เนื่องจากพ่อแม่บางคนอดใจอ่อนกับลูกไม่ได้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ homeschoolzone.com เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า พ่อแม่ที่จะทำโฮมสคูลได้ประสบความสำเร็จจะต้อง
1) คิดได้แบบเด็กและชอบเล่นกับลูก
2) มีอารมณ์ขัน
3) อ่าน เขียนและรู้เรื่องคณิตศาสตร์เบื้องต้น และพร้อมหาความรู้ให้มากขึ้นเมื่อจำเป็น
4) มีปรัชญาการศึกษาที่นำไปสู่การทำโฮมสคูล
5) พร้อมรับคำวิจารณ์จากคนรอบข้าง
6) มีเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือกันและกัน
7) รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด
8) พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้อยู่เสมอ
9) อดทน
10) ช่างสังเกต
11) พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
สิ่งสำคัญที่จะทำให้พ่อแม่มั่นใจมากขึ้น ขอแนะนำว่า ให้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของลูก เด็กทุกคนเรียนรู้ที่จะนั่งได้ คลานได้ เดินได้ด้วยตัวเองทั้งนั้น การให้ความรู้ในแบบ"สั่งสอน" ลูกอาจจำได้แต่ไม่ใช่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนเริ่มต้นยังไง
เมื่อตัดสินใจจะเป็นครอบครัวโฮมสคูล คำถามแรกที่เกิดขึ้นคือจะสอนอะไรให้กับลูก และสอนอย่างไร ถ้าคิดว่ายาก ลองดูหลักสูตรเรียนด้วยใจ ของครูส้มก่อน
เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ยินคำว่า "โฮมสคูล" บ่อยครั้งขึ้น เมื่อหลายครอบครัวลุกขึ้นมาสอนลูกเองที่บ้าน ประจวบกับกฎหมายคืนสิทธิให้สามารถพ่อแม่จัดการศึกษาให้กับลูกได้ด้วยตนเอง
คำว่า "โฮมสคูล" จึงหอมหวานท่ามกลางความอึดอัดคับข้องใจ ของพ่อแม่ที่มีต่อการศึกษาในระบบ ขณะนี้มีครอบครัวไทยที่จัดการศึกษาให้ลูก ในลักษณะโฮมสคูลไม่น้อยกว่า 50 ครอบครัว และมีผู้สนใจที่จะทำบ้างอีกมากมาย สื่อต่างๆ ก็ให้ความสนใจ ติดตาม นำเสนอแก่สาธารณชน โฮมสคูลกลายเป็นที่ฮือฮา และเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายพยายามวิเคราะห์เจาะลึก บ้างว่าเป็นการเดินตามก้นฝรั่ง บ้างก็ว่าเป็นพวกพ่อแม่แอนตี้โรงเรียน ในทางตรงข้าม ก็ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา ที่คณะปฏิรูปการศึกษาต้องจับตามอง โฮมสคูลน่าจะนำร่องให้เห็นว่า การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(สำคัญ)หรือ childcenter นั้นเป็นอย่างไร
โฮมสคูล เรียนแบบไหน?
เมื่อพูดถึง"โฮมสคูล" หลายคนเกิดภาพว่าคือการเรียนที่บ้าน โดยมีพ่อแม่เป็นผู้สอนแทนครู คำถามแรกที่พ่อแม่โฮมสคูลมักถูกถาม "หลักสูตรเป็นอย่างไร" หลายครั้งไม่มีคำตอบ แม้ว่าโดยหลักการแล้ว กิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กโฮมสคูลจะได้ถูกวางแผนขึ้นอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย เช่น มีสาระและกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพเด็กเป็นรายบุคคล ให้สอดคล้องตรงกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของเด็ก หรือเป็นไปในทางตอบสนองต่อปรัชญา ทัศนะ ความเชื่อ ความสนใจความต้องการหรือปัญหาของแต่ละครอบครัว
แม้จะมีจุดมุ่งหมายและรูปแบบที่แตกต่างกันไปแต่ละบ้าน แต่ก็สรุปได้ว่า โฮมสคูลหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัว หมายถึงการจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง อาจเป็นผู้จัดการศึกษาเองทั้งหมด โดยพ่อแม่ผู้ปกครองอาจเป็นผู้สอนเอง หรืออำนวยการให้เกิดการเรียนการสอน เช่นจ้างครูมาสอนที่บ้าน หรืออาจมีข้อตกลงจัดการศึกษาร่วมกันกับโรงเรียน เช่น สัปดาห์หนึ่งเรียนในโรงเรียน 3 วัน ที่เหลือพ่อแม่เรียนที่บ้าน หรือเรียนที่โรงเรียนเป็นบางวิชา ฯลฯ หรืออาจจะรวมกลุ่มครอบครัวจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
กิจกรรมการเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้านหรือสภาพการณ์แบบครอบครัว พูดให้ง่ายขึ้นก็คือ พ่อแม่ถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ร่วมกับลูกในทุกแง่มุมของชีวิต อย่างเป็นธรรมชาติผ่านความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก
หลักสูตรจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรก แต่สิ่งสำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องถามตัวเองก่อนว่า เป้าหมายในการทำโฮมสคูลให้ลูกคืออะไร
จากโฮมสคูลมาเป็นบ้านเรียน
ก่อนที่ พ.ร.บ.การศึกษาฉบับปัจจุบันประกาศใช้ กฎหมายยังไม่เปิดช่องให้พ่อแม่จัดการศึกษาให้กับลูกเอง อย่างไรก็ตามไม่อาจปิดกั้นพ่อแม่ที่ต้องการทางเลือก ก่อนปี2530 มีสองครอบครัวที่ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในเมืองไทย
ปี 2522 ครอบครัวคุณพิภพ-คุณรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดการศึกษาให้กับลูกอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนโดยการดูแลของพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ และโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
ถัดมาในปี 2528-2529 ครอบครัวนายแพทย์โชติช่วง-คุณวิจิตรา ชุตินธร จัดการศึกษาให้กับลูกๆ ที่บ้านอย่างแท้จริง ถือเป็นครอบครัวแรกของสังคมไทยในยุคนั้น
หลังจากนั้นก็เริ่มมีครอบครัวโฮมสคูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่รู้จักกันดีในขณะนี้ก็เช่นครอบครัวนายแพทย์พร พันธุ์โอสถ ครอบครัวครูบาสุทธินันท์ ครอบครัวพึ่งอุดม(คุณสยาม-คุณสมพรหรือครูส้ม) ครอบครัวสมพงศ์ (คุณสาทรและคุณจินตนา) ครอบครัวปรัชพฤทธิ์ (ครูบาสุทธินันท์-คุณฉวี) ครอบครัวเหลืองแจ่ม (ดร.เจษฎา-คุณนิราพร) และครอบครัวสบายใจ(นาวาโทสุขสวัสดิ์และคุณกนกพร) โดยส่วนใหญ่ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ พ่อแม่ที่จัดทำโฮมสคูลให้ลูกส่วนใหญ่ก็จะนำชื่อลูก ไปลงทะเบียนเป็นนักเรียนของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
สาเหตุการเกิดครอบครัวโฮมสคูลในไทยมีทั้งไม่พอใจ ในระบบการศึกษาที่เป็นอยู่มีปรัชญาแนวคิด ในเรื่องของชีวิตและการศึกษาที่แตกต่างออกไป ทั้งต้องการพัฒนาลูกตามความถนัดและศักยภาพของลูก เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กสมาธิสั้น ออทิสติก ซึ่งต้องยอมรับกันว่าขณะนี้การศึกษาในระบบยังไม่สามารถรองรับเด็กเหล่านี้ได้เต็มที่
ปัจจุบันมีการเรียกขานโฮมสคูลหรือการจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นไทยๆ ว่า "บ้านเรียน" มีการรวมตัวของกลุ่มครอบครัวบ้านเรียน จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว เพื่อรวมพลังพ่อแม่บ้านเรียนและจัดกิจกรรมให้กับกลุ่ม
ในด้านกฎหมายแม้ว่าพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะระบุว่าให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีสิทธิในการจัดการศึกษากับลูกที่บ้านได้ รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐ ได้แก่ เงินอุดหนุนและลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา แต่ก็ยังอยู่ในช่วงของการร่างกฎกระทรวง และรอการรับรองอย่างเป็นทางการต่อไป
คาดกันว่าครอบครัวบ้านในเมืองไทยจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่โรงเรียนยังไม่ชัดเจนเรื่อง "ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(สำคัญ)"
อยากเป็นพ่อแม่โฮมสคูล
อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่อยากทำโฮมสคูลไว้ว่า ก่อนทำควรคิดให้รอบคอบว่ามีความพร้อมหรือไม่ ขณะเดียวกันก็ควรมีความรู้ด้านพัฒนาการและจิตวิทยาของเด็ก และมีความเข้มแข็งพอในการฝึกลูก เนื่องจากพ่อแม่บางคนอดใจอ่อนกับลูกไม่ได้
ข้อมูลจากเว็บไซต์ homeschoolzone.com เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า พ่อแม่ที่จะทำโฮมสคูลได้ประสบความสำเร็จจะต้อง
1) คิดได้แบบเด็กและชอบเล่นกับลูก
2) มีอารมณ์ขัน
3) อ่าน เขียนและรู้เรื่องคณิตศาสตร์เบื้องต้น และพร้อมหาความรู้ให้มากขึ้นเมื่อจำเป็น
4) มีปรัชญาการศึกษาที่นำไปสู่การทำโฮมสคูล
5) พร้อมรับคำวิจารณ์จากคนรอบข้าง
6) มีเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือกันและกัน
7) รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด
8) พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้อยู่เสมอ
9) อดทน
10) ช่างสังเกต
11) พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
สิ่งสำคัญที่จะทำให้พ่อแม่มั่นใจมากขึ้น ขอแนะนำว่า ให้เชื่อมั่นในศักยภาพการเรียนรู้ของลูก เด็กทุกคนเรียนรู้ที่จะนั่งได้ คลานได้ เดินได้ด้วยตัวเองทั้งนั้น การให้ความรู้ในแบบ"สั่งสอน" ลูกอาจจำได้แต่ไม่ใช่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนเริ่มต้นยังไง
เมื่อตัดสินใจจะเป็นครอบครัวโฮมสคูล คำถามแรกที่เกิดขึ้นคือจะสอนอะไรให้กับลูก และสอนอย่างไร ถ้าคิดว่ายาก ลองดูหลักสูตรเรียนด้วยใจ ของครูส้มก่อน
หัวข้อหลัก
|
หัวข้อย่อย
|
10 นิ้วของฉัน
|
ปั้นดิน งานประดิษฐ์ ทำอาหาร ต่อบล็อก งานช่าง ทำของเล่นเอง
|
อาหารสมอง
|
อ่านหนังสือ คิดเลข วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ทำรายงาน จดบันทึก
|
ร่างกายแข็งแรง
|
เล่นนอกบ้าน ดินขน้ำขลมขไป วิ่งกับพ่อ ฝึกโยคะ ขี่จักรยาน ปลูกต้นไม้
|
เพื่อส่วนรวม
|
ทำงานบ้าน เก็บของเล่นเข้าที่ ให้อาหารสัตว์ เก็บขยะ ประหยัด
|
สุนทรียภาพ
|
วาดรูป ฟังเพลง เล่นดนตรี อ่านและฟังบทกวี เฝ้าดูธรรมชาติ ดูงานศิลปะ
|
โลกกว้างใหญ่
|
ไปเที่ยว เรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ ทะเล ภูเขา ท้องฟ้า อวกาศ จักรวาล
|
บันเทิงเริงใจ
|
เล่น อ่านและฟังนิทาน ทายปัญหา เล่าเรื่องตลก คอมพิวเตอร์
|
ดูแลตนเอง
|
กินข้าวเอง อาบน้ำเอง เก็บของ หัดควบคุมตัวเอง
|
อยู่นิ่งเงียบ
|
นอนกดูเมฆ ดูใบไม้เต้นระบำ นอนท่าศพ นั่งสมาธิดอกบัว ฟังเสียงลม
|
เด็กดี
|
ขอบคุณ สวัสดี ยิ้มจริงใจ ไหว้สวยๆ อย่างมีสติ ซื่อสัตย์ มีใจเมตตา
|
คิดสร้างสรรค์
|
ประดิษฐ์ของเล่นเอง รีไซเคิล ดัดแปลง ต่อเติม คิดใหม่ ฟังนิทานสร้างสรรค์
|
แบ่งปันเอื้ออาทร
|
แบ่งเสื้อผ้า ของเล่น หนังสือ อาหาร ขนม ให้คนที่ขาดแคลน ดูแลสัตว์เลี้ยง
|
มีสังคม
|
รับโทรศัพท์ คบเพื่อนใหม่ คิดถึงเพื่อนเก่า รับแขกที่บ้าน
|
ความรู้สึก
|
พูดสิ่งที่รู้สึก ฟังสิ่งที่คนอื่นรู้สึก คิดดีๆ ต่อตัวเองและคนอื่น
|
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อกับการเรียนรู้และ พัฒนาการของลูกให้เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างมีความสุข ตามความถนัด และความสนใจของเขา มีกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ กระตุ้นความสนใจของลูก เช่น พาเขาไปแหล่งความรู้ต่างๆ ท่องเที่ยวไปพูดคุยกับบุคคลที่มีอาชีพหรือมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับเรื่องอ่านออกเขียนได้ ที่พ่อแม่มักกังวล ก็ปล่อยให้เป็นไปแบบธรรมชาติ ไม่ต้องเร่งรีบเขา เมื่อไรก็ตามที่ลูกเห็นว่าหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง ล้วนมีแต่เรื่องสนุก น่ารู้ เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากอ่านและพร้อมที่จะเรียนเขียนอ่าน และอีกอย่างที่พ่อแม่ควรเตือนตัวเองสักนิด คือต้องเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้อย่างเต็มที่ เป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง และที่ไม่ควรพลาด พ่อแม่ควรเรียน
รู้ไปกับลูกด้วย
พ่อแม่บ้านเรียนหลายเรียนเริ่มต้นอย่างไม่มีหลักสูตร แต่เรียนรู้ไปพร้อมกับลูกทำใจให้เป็นเด็ก ในที่สุดก็จะพบแนวทางที่ชัดเจนของการเรียนรู้ที่แท้จริงและยั่งยืน ดังที่แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้กล่าวในการประชุมครอบครัวบ้านเรียนว่า..
เด็กๆ เหมือนเมล็ดพันธุ์
พ่อแม่ต้องใส่ใจรดน้ำ พรวนดิน
ไม่มีการศึกษาใดเบ็ดเสร็จ
พ่อแม่ต้องเรียนรู้ไปกับลูก
..นี่ละสูตรสำเร็จของการทำโฮมสคูล สุดท้ายปลายทางของบ้านเรียนแต่ละบ้านจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครบอกได้ ขอให้พ่อแม่และลูกได้เก็บเกี่ยวสิ่งดีงามที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกัน เท่านี้เราก็พอแน่ใจได้ว่าโฮมสคูลจะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ทางการศึกษา และสร้างทรัพยากรบุคคลที่หลากหลายและมีคุณค่าของสังคมในอนาคตอย่างแน่นอน (อยากทราบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโฮมสคูล อ่านรักลูกฉบับเดือนพฤศจิกายน 2543)
ที่มา : http://www.planpublishing.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น