รูดอล์ฟ สไตเนอร์ , A Teacher from the West

Rating:★★★★★
Category:Books
Genre: Biographies & Memoirs
Author:รูดี้ ลิสเซา , รวิมาศ ปรมศิริ(แปล)
ชีวประวัติของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ผู้ก่อตั้ง ‘มนุษยปรัชญา’ (Anthroposophy)ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.๑๘๖๑-๑๙๒๕ ขบวนการมนุษยปรัชญาในการสรรค์สร้างแนวทางจิตวิญญาณ จะหยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงในวัฒนธรรมแถบเอเชียได้อย่างไร รวมทั้งจะหลอมรวมแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากภูมิธรรมตะวันออกกระแสต่างๆ ได้อย่างไร ชีวประวัติ รูดอล์ฟ สไตเนอร์เล่มนี้ อาจจะพอเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงที่มาและภูมิหลังของขบวนการมนุษยปรัชญา


หนังสือเล่มนี้เป็นชีวประวัติของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ผู้ก่อตั้ง ‘มนุษยปรัชญา’ (Anthroposophy) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.๑๘๖๑-๑๙๒๕ เรียบเรียงโดย รูดี้ ลิสเซา ชาวยิวผู้สนใจงานของสไตเนอร์มาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี พ่อแม่และลุงของรูดี้ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมเทวปรัชญาสาขาเวียนนาขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับงานของสไตเนอร์ในกรุงเวียนนา ความสนใจของรูดี้ที่มีต่องานของสไตเนอร์ทำให้เขาแอบอ่านหนังสือของสไตเนอร์ระหว่างที่กำลังเรียนวิชาต่างๆ ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ตราบจนกระทั่งเขาจำต้องออกจากออสเตรียในปี ๑๙๓๘ และเข้าร่วมเป็นสมาชิก ‘กลุ่มยุวชนเวียนนา’ อันเป็นกลุ่มเยาวชนลูกศิษย์ของสไตเนอร์ที่โดดเด่นและมีความสามารถ หลายคนในกลุ่มนี้ได้บุกเบิกริเริ่มงานทางด้านมนุษยปรัชญาตามที่ต่างๆ หลายแห่งทั่วโลก

รูดี้ ลิสเซาได้ศึกษางานของสไตเนอร์เพื่อให้เกิคความรู้ที่ลึกซึ้งและกว้างยิ่งขึ้น เขากลายมาเป็นผู้บรรยายและเขียนหนังสือหลายเล่มจากการเดินทางไปทั่วยุโรป อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ เขาได้เขียนและพูดถึงความหวังและความห่วงใยต่ออนาคตของมนุษยปรัชญา โดยเรียกร้องให้นักมนุษยปรัชญามีความเป็นนักมนุษยปรัชญาอย่างแท้จริง มุ่งมั่นศึกษามนุษยปรัชญาจนเห็นจริงด้วยประสบการณ์ของตนเอง และมีความรับผิดชอบ ซื่อตรงต่อเจตนารมณ์ของสไตเนอร์ให้ถึงที่สุด และทำงานจากแก่นแท้ของจิตวิญญาณ

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของสไตเนอร์ โดยแบ่งเป็น ๔ ภาคคือ ภาค ๑ ชีวิตของสไตเนอร์ ภาค ๒ คำสอนของสไตเนอร์ ภาค ๓ วิถีทาง ภาค ๔ นวัตกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจแก่นแท้ของคำสอนของสไตเนอร์ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งบริบทแวดล้อมทางสังคมในยุคสมัยนั้น ตลอดจนหนทางและอุปสรรคในการเข้าถึงรูดอล์ฟ สไตเนอร์ อย่างไรก็ตามเนื้อหาเหล่านี้อิงอยู่กับแวดวงของวัฒนธรรมยุโรป และจากมุมมองของชาวตะวันตก สำนักพิมพ์สวนเงินมีมาผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้จึงได้ทำส่วนของอภิธานศัพท์อธิบายเพิ่มเติมไว้ท้ายเล่ม เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเนื้อหาหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยภูมิหลังทางวัฒนธรรมยุโรป

ขบวนการมนุษยปรัชญาในการสรรค์สร้างแนวทางจิตวิญญาณ จะหยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงในวัฒนธรรมแถบเอเชียได้อย่างไร รวมทั้งจะหลอมรวมแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากภูมิธรรมตะวันออกกระแสต่างๆ ได้อย่างไร การจัดพิมพ์ชีวประวัติ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ เป็นภาษาไทยในครั้งนี้ อาจจะพอเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงที่มาและภูมิหลังของขบวนการมนุษยปรัชญา เพื่อจุดประกายให้เกิดการศึกษาค้นคว้าต่อไป ทั้งในแง่การนำไปพิจารณาใคร่ครวญ สอบทานความคิดสำหรับผู้ดำเนินกิจกรรมและองค์กรที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปรัชญาของสไตเนอร์ รวมทั้งขบวนการทางสังคมที่แวดล้อมแนวคิดนี้ อันได้แก่ การศึกษาวอลดอร์ฟ การเกษตรแนวธรรมชาติ เกษตรชีวพลวัต ศิลปะการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า ยูริธมี สถาปัตยกรรมแบบอินทรีย์ การสร้างสรรค์ทางสังคมด้วยองค์สาม และธุรกิจทางเลือก


ความคิดเห็น

  1. ได้มาจาก แม่แหวว คับ แม่กัญจน์

    แม่แหวว ให้เอามาอ่านก่อน .. ฮิฮิ..

    ตอบลบ
  2. จดๆ.. เดี๋ยวไปตระเวนหาซื้อมาอ่านมั่ง.. ขอบคุณค่าา..
    >> ลูกโซ่ ตอนเล็กๆ เนี่ย ท่าทางจะทะเล้นน่าดูชมเลยนะคะ.. ดูรูปแล้วหมั่นเขี้ยวจริงๆ ^^

    ตอบลบ
  3. เจ้าของแนวคิด การศึกษาวอลดอร์ฟ( Waldorf Education) นี้ด้วยเช่นกันคับ แม่ล็อต
    และมี เอกสาร'การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย' ตามแวคิดวอลดอร์ฟ ของ นพ.พร พันธุ์โอสถ ด้วยนะคับ สนใจ ตามลิงค์นะคับ >> http://clickkids.multiply.com/journal/item/45

    ตอบลบ
  4. เอาเรื่อง ใช้ได้เร้ยย..ย หล่ะคับ คุณครู:)

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณคะพ่อน้องลูกโซ่ ข้อมูลแน่นจิงๆคะ เป็นคุณครูปะคะเนี่ย (แอบแซว)

    ตอบลบ
  6. ป่าวคับ แม่ล็อต เพิ่งมาหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กๆ เมื่อตอนมีลูกนี้เหมือนกันคับ

    ^ ___ ^

    ตอบลบ
  7. น้องลูกโซ่ซนปะคะ เผื่อต้นโมกซนหรือดื้อจะได้มาปรึกษาบ่อยๆ :)

    ตอบลบ
  8. 55...5 ตามวัยกระมังคับ
    ส่วนตัวอยากให้ลูกซนตามวัยนะคับ เพราะเห็นช่วงซึมตอนป่วย เร้ย..ย ให้ซนดีกว่า 55...5
    โดยเราพ่อแม่ช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยนะคับ:)

    ตอบลบ
  9. แม่เปาเจียดเงินไปซื้อมาแล้วค่ะ
    เพิ่งเปิดอ่าน

    ไว้อ่านจบจะมาโหวตนะคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม