ทีวี.. เพชฌฆาตสมองเด็ก
"ทีวี เพชฌฆาตสมองเด็ก" By atirach
“บุคลิกภาพ” เป็นความแตกต่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ ในขณะที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีบุคลิกภาพคงตัว มีความคิด นิสัย และสามารถแยกผิดถูกได้ดีระดับหนึ่ง
เด็ก ที่ต้องเติบโตขึ้นทุกวัน เพื่อเข้าสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ที่ไม่ใช่เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอก แต่เด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของบุคลิกภาพ นิสัย ความคิด ที่สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเรียนรู้และหล่อหลอม
ทางการแพทย์แยกอธิบายไว้ด้วย 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยภายในตัวเด็กเอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม ผลกระทบที่เกิดร่วมตอนคลอด
และปัจจัยภายนอก ที่พฤติกรรมถูกหล่อหลอม โดยสภาพแวดล้อม ครอบครัว วิธีการเลี้ยงดู สังคม เพื่อน โรงเรียน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ นพ. กิจจา ฤดีขจร บอกว่ามีความสำคัญร่วมกันทั้ง 2 ส่วน และสามารถนำมาอธิบายสาเหตุ อาการของโรคสมาธิสั้น และออทิสติกในเด็กได้ส่วนหนึ่ง
โรคสมาธิสั้น ที่ปัจจุบันเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจในประเทศแถบตะวันตกพบมากถึง 10% จากจำนวนเด็กทั้งหมด ขณะที่ประเทศไทยมีการประเมินว่าตัวเลขน่าจะอยู่ที่ 5-10% เช่นกัน
อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น กรรมพันธุ์ การเลี้ยง โดยประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัว คนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นด้วย
นอกจากนี้ การดูโทรทัศน์ (ทีวี) ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นแสดงผลเร็ว ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้น
ในเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นบางรายทีวี เป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคแสดงผล และทีวีก็มีส่วนที่ทำให้เด็กปกติบางรายมีอาการพฤติกรรมสมาธิสั้น ซึ่งในเด็กกลุ่มหลัง นพ. กิจจา ย้ำว่า เพียงแค่งดทีวีอาการไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ ห้ามไม่หยุด หุนหันพลันแล่นของเด็ก ก็จะดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน และหายไปในที่สุด โดยไม่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วม
ส่วนโรคออทิสติก แม้จะมีหลายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แต่ความเครียดของแม่ขณะตั้งครรภ์ และพ่อที่มีอายุมากๆ ที่มีความเครียดร่วมด้วยเป็นสาเหตุสำคัญโรค ขณะที่ในเด็กออทิสติก และมีอาการของโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย ทีวี จึงเป็นอีกปัจจัยที่ซ้ำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติของสมองด้านที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ทำให้เด็กไม่ยอมสื่อสาร บางรายอาจรับฟังได้บ้าง แต่ไม่สามารถสื่อสารได้เต็มสํกยภาพ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การพูดบกพร่อง ไม่ซบตา ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่โต้ตอบ ไม่มีปฎิสัมพันธุ์
นพ. กิจจา อธิบายว่า หากให้เด็กดูทีวี โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งแม้แต่รายการเด็กประเภทเบบี้จีเนียส ยังควรเป็นเริ่มกับเด็กที่มาอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป
เพราะสมองของเด็กจะทำงานเป็นวงจรสั้นๆ เนื่องจากถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องโดยภาพบนจอทีวีที่เปลี่ยนไปทุก 2-3 วินาที
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าภายนอกเหล่านี้เองที่ดึงดูดความสนใจจนทำให้เด็กนั่งนิ่งๆ อยู่หน้าจอทีวีได้เป็นเวลานาน แต่สมองเด็กที่ถูกกระตุ้นแบบผิดวิธีต่อเนื่องซ้ำๆ จะทำให้เกิดการรับรู้เรื่องสั้นๆ หลายเรื่องพร้อมกัน
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่นิ่ง หรือยิ่งซนมากขึ้นเมื่อไม่ได้ดูทีวี
สิ่งต่างๆ เหล่านี้อธิบายเพิ่มได้จากการเรียนรู้ของคนที่ถูกกำหนดขึ้นที่สมองและมีวงจรต่างๆ ร่วม
การที่วงจรต่างๆ ที่อยู่ในสมองสามารถควบคุมทักษะบางอย่างได้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากได้มีการเรียนรู้และบันทึกไว้แล้ว อาทิเช่น คนสามารถเดินได้พร้อมๆ กับการคุยโทรศัพท์ หรือยังสามารถขับรถได้แม้จะไม่ทำมาเป็นปี
ตรงกันข้ามกับ “การมีสมาธิ” ซึ่งเด็กต้องพัฒนาขึ้นมาเองอย่างต่อเนื่อง เช่น ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างจดจ่อและเข้าใจ ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธิที่สร้างขึ้นเองจากภายใน
สำหรับผลกระทบโดยตรงของโรคสมาธิสั้น จะเริ่มแสดงให้เห็นจากพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ อาทิเช่น อายุ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ ซึ่งเด็กปกติ 1 ขวบ จะสามารถพูดได้เป็นคำๆ อายุ 1.6 ขวบ เด็กสามารถผสมคำได้เป็นประโยชน์สั้นๆ และพอสื่อสารได้บ้าง และพออายุ 2 ขวบ ก็ควรจะสามารถสื่อสารได้รู้เรื่องมากขึ้น
เกือบ 100% ของเด็กที่เป็นสมาธิสั้นจะมีปัญหาเรื่องภาษา โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ยังไม่มีปฎิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ ไม่สามารถจำภาพ จำเสียง หรือเลียนแบบได้
เกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นวัดผลจากภาคส่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ นพ. กิจจา ให้เหตุผลว่า การที่เด็กจะสื่อสารด้วยคำพูด ต้องใช้สมาธิ และสมองหลายส่วนมากกว่า
ต้องอาศัยปากในการควบคุมการออกเสียง เมื่อพูดออกไปแล้วเด็กต้องได้ยินเสียงที่เปล่งออกไป
อาทิเช่น คำว่า “พ่อ” ถ้าออกเสียงเป็น “ป่อ” เด็กต้องปรับเสียงจาก “ป” เป็น “พ” เพื่อให้เป็น “พ่อ”
เมื่อปรับเสียงได้แล้ว ก็ต้องแยกให้ได้ด้วยว่าคนที่เห็นเป็นพ่อหรือแม่ และต้องเรียกให้ถูก ต้องรู้ความหมายของคำที่พูด และรู้ว่าใช้เมื่อไหร่ กับใคร
ต่างจากภาครับ ที่เป็นเพียงแค่การเชื่อมโยงจากเสียงของคำว่า “พ่อ” กับภาพที่เห็นเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีวิธีสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือไม่ ดูได้จากพัฒนาการทางด้านภาษา ประกอบกับพฤติกรรมทั่วไป อาทิเช่น ปกติถ้าเป็นเด็กอายุ 1 ขวบจะสามารถอยู่นิ่งได้อย่างน้อย 1 นาที และเข้าใจอารมณ์ของพ่อและแม่จากคำสั่ง
หรือถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ขวบควรอยู่นิ่งได้อย่างน้อย 3 นาทีเป็นต้น
จากการอธิบายของ นพ. กิจจา ยังระบุว่า โรคสมาธิสั้น หรือพฤติกรรมสมาธิสั้น นอกจากเด็กจะสูญเสียความสามารถในการสื่อสารแล้ว ยังส่งกระทบต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการที่สมวัย และความฉลาดหรือไอคิวด้วย
เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจในสิ่งหนึ่งใดได้ไม่นาน อยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติดที่ เด็กจึงไม่สนใจการเรียน และบางครั้งยังก่อกวนความสงบสุขในชั้นเรียน รวมถึงเด็กจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
พบได้ตั้งแต่พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรรุนแรง ทำลายข้าวของ ก้าวร้าว ขาดทักษะต่างๆ เนื่องจากอดทนเล่นหรือฝึกได้ไม่นาน มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
ขณะที่การตอบรับจากสังคมต่างจากเด็กปกติทั่วไป เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย ความเอ็นดูจากผู้ใหญ่ที่พบเห็นมีน้อย เหล่านี้กลายเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ย้ำให้เด็กมีการออกรุนแรงมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว
การที่เด็กไม่สามารถเข้าสังคมกับบุคคลอื่นได้ ก็ยิ่งทำให้การเรียนรู้ล่าช้ามากขึ้นตาม
และถ้ายังคงปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอทีวีต่อไป พัฒนาการทางด้านภาษา สังคม และการเรียนรู้ของเด็กจะยิ่งถดถอยไปเรื่อยๆ การที่เด็กเล็กจะเติบโตเป็นวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมที่หนุนเนื่อง เพราะเด็กเรียนรู้ทุกขณะ
“ลูกเป็นอย่างไร จะเป็นภาพสะท้อนของพ่อแม่ และวิธีการเลี้ยงดู”
นอกจากทีวีจะไปสร้างความผิดเพี้ยนให้กับวงจรสมอง เนื้อหาของรายการยังมีส่วนที่กระตุ้น และหล่อหลอมพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยนให้กับเด็ก
โดยเฉพาะในเด็กวัยอนุบาลจนถึงประถมศึกษา นพ. กิจจา บอกว่าอยู่ในช่วงที่ชอบเลียนแบบและต้องการเป็นผู้ใหญ่ หากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่จัดสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือปลูกฝังต้นทุนชีวิตที่ดีให้กับเด็ก ปล่อยให้เนื้อหาของรายการทีวี โฆษณาขายสินค้าทั้งทางตรง ทางอ้อมเข้ามามีอิทธิพล และหล่อหลอมพฤติกรรม รวมถึงปลูกฝังค่านิยมผิดๆ
เด็กจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รักสบาย กลายเป็นคนบริโภคนิยม ไม่ทุ่มเทให้กับการทำงาน
แม้เนื้อหาในบางรายการจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาให้กับเด็ก แต่ นพ.กิจจา ก็ยังย้ำชัดเจนว่า เด็กในวัยเรียนไม่ควรดูทีวีเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และผู้ปกครองควรเป็นผู้พิจารณาเนื้อหาของรายการให้กับเด็ก
นี่ไม่ใช่เป็นการปิดกั้นความคิด หรือพัฒนาการของเด็ก แต่การปลูกฝังระเบียบวินัย จะช่วยให้เด็กควบคุมตนเองได้เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่
เด็กยังคงมีความคิดสร้างสรรค์ได้ในกรอบระเบียนวินัย เช่นเดียวกับบ้านเมืองที่ต้องมีกฎหมาย สังคมต้องมีระเบียบวินัย
และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น หรือตัดสิ่งเร้าออกไป ยังเป็นการควบคุมไม่ให้อาการของโรคสมาธิสั้นหรือพฤติกรรมสมาธิสั้นแสดงออก กล่าวคือในช่วง 2-3 ขวบอาจมีการแสดงออกของโรคสมาธิสั้น แต่เมื่อสมองได้มีการเรียนรู้มากระดับหนึ่งแล้ว สมองซึ่งมีความยืดหยุ่นจะปรับปรุงและพัฒนาให้เด็กกลุ่มนี้กลับมามีพฤติกรรมที่ปกติได้
ในเมื่อทีวีทำร้ายเด็กได้มากขนาดนี้ จะยังปล่อยให้ทีวีเลี้ยงลูกคุณอีกหรือ
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
“บุคลิกภาพ” เป็นความแตกต่างระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ ในขณะที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีบุคลิกภาพคงตัว มีความคิด นิสัย และสามารถแยกผิดถูกได้ดีระดับหนึ่ง
เด็ก ที่ต้องเติบโตขึ้นทุกวัน เพื่อเข้าสู่วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ที่ไม่ใช่เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอก แต่เด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของบุคลิกภาพ นิสัย ความคิด ที่สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการเรียนรู้และหล่อหลอม
ทางการแพทย์แยกอธิบายไว้ด้วย 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยภายในตัวเด็กเอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม ผลกระทบที่เกิดร่วมตอนคลอด
และปัจจัยภายนอก ที่พฤติกรรมถูกหล่อหลอม โดยสภาพแวดล้อม ครอบครัว วิธีการเลี้ยงดู สังคม เพื่อน โรงเรียน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ นพ. กิจจา ฤดีขจร บอกว่ามีความสำคัญร่วมกันทั้ง 2 ส่วน และสามารถนำมาอธิบายสาเหตุ อาการของโรคสมาธิสั้น และออทิสติกในเด็กได้ส่วนหนึ่ง
โรคสมาธิสั้น ที่ปัจจุบันเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจในประเทศแถบตะวันตกพบมากถึง 10% จากจำนวนเด็กทั้งหมด ขณะที่ประเทศไทยมีการประเมินว่าตัวเลขน่าจะอยู่ที่ 5-10% เช่นกัน
อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น กรรมพันธุ์ การเลี้ยง โดยประมาณ 30-40% ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนในครอบครัว คนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นด้วย
นอกจากนี้ การดูโทรทัศน์ (ทีวี) ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นแสดงผลเร็ว ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้น
ในเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นบางรายทีวี เป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคแสดงผล และทีวีก็มีส่วนที่ทำให้เด็กปกติบางรายมีอาการพฤติกรรมสมาธิสั้น ซึ่งในเด็กกลุ่มหลัง นพ. กิจจา ย้ำว่า เพียงแค่งดทีวีอาการไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ ห้ามไม่หยุด หุนหันพลันแล่นของเด็ก ก็จะดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน และหายไปในที่สุด โดยไม่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วม
ส่วนโรคออทิสติก แม้จะมีหลายปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ แต่ความเครียดของแม่ขณะตั้งครรภ์ และพ่อที่มีอายุมากๆ ที่มีความเครียดร่วมด้วยเป็นสาเหตุสำคัญโรค ขณะที่ในเด็กออทิสติก และมีอาการของโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย ทีวี จึงเป็นอีกปัจจัยที่ซ้ำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติของสมองด้านที่เกี่ยวกับการสื่อสาร ทำให้เด็กไม่ยอมสื่อสาร บางรายอาจรับฟังได้บ้าง แต่ไม่สามารถสื่อสารได้เต็มสํกยภาพ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การพูดบกพร่อง ไม่ซบตา ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่โต้ตอบ ไม่มีปฎิสัมพันธุ์
นพ. กิจจา อธิบายว่า หากให้เด็กดูทีวี โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งแม้แต่รายการเด็กประเภทเบบี้จีเนียส ยังควรเป็นเริ่มกับเด็กที่มาอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป
เพราะสมองของเด็กจะทำงานเป็นวงจรสั้นๆ เนื่องจากถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องโดยภาพบนจอทีวีที่เปลี่ยนไปทุก 2-3 วินาที
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าภายนอกเหล่านี้เองที่ดึงดูดความสนใจจนทำให้เด็กนั่งนิ่งๆ อยู่หน้าจอทีวีได้เป็นเวลานาน แต่สมองเด็กที่ถูกกระตุ้นแบบผิดวิธีต่อเนื่องซ้ำๆ จะทำให้เกิดการรับรู้เรื่องสั้นๆ หลายเรื่องพร้อมกัน
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่นิ่ง หรือยิ่งซนมากขึ้นเมื่อไม่ได้ดูทีวี
สิ่งต่างๆ เหล่านี้อธิบายเพิ่มได้จากการเรียนรู้ของคนที่ถูกกำหนดขึ้นที่สมองและมีวงจรต่างๆ ร่วม
การที่วงจรต่างๆ ที่อยู่ในสมองสามารถควบคุมทักษะบางอย่างได้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากได้มีการเรียนรู้และบันทึกไว้แล้ว อาทิเช่น คนสามารถเดินได้พร้อมๆ กับการคุยโทรศัพท์ หรือยังสามารถขับรถได้แม้จะไม่ทำมาเป็นปี
ตรงกันข้ามกับ “การมีสมาธิ” ซึ่งเด็กต้องพัฒนาขึ้นมาเองอย่างต่อเนื่อง เช่น ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างจดจ่อและเข้าใจ ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธิที่สร้างขึ้นเองจากภายใน
สำหรับผลกระทบโดยตรงของโรคสมาธิสั้น จะเริ่มแสดงให้เห็นจากพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ อาทิเช่น อายุ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ ซึ่งเด็กปกติ 1 ขวบ จะสามารถพูดได้เป็นคำๆ อายุ 1.6 ขวบ เด็กสามารถผสมคำได้เป็นประโยชน์สั้นๆ และพอสื่อสารได้บ้าง และพออายุ 2 ขวบ ก็ควรจะสามารถสื่อสารได้รู้เรื่องมากขึ้น
เกือบ 100% ของเด็กที่เป็นสมาธิสั้นจะมีปัญหาเรื่องภาษา โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ แต่ยังไม่มีปฎิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ ไม่สามารถจำภาพ จำเสียง หรือเลียนแบบได้
เกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นวัดผลจากภาคส่งเป็นสำคัญ ทั้งนี้ นพ. กิจจา ให้เหตุผลว่า การที่เด็กจะสื่อสารด้วยคำพูด ต้องใช้สมาธิ และสมองหลายส่วนมากกว่า
ต้องอาศัยปากในการควบคุมการออกเสียง เมื่อพูดออกไปแล้วเด็กต้องได้ยินเสียงที่เปล่งออกไป
อาทิเช่น คำว่า “พ่อ” ถ้าออกเสียงเป็น “ป่อ” เด็กต้องปรับเสียงจาก “ป” เป็น “พ” เพื่อให้เป็น “พ่อ”
เมื่อปรับเสียงได้แล้ว ก็ต้องแยกให้ได้ด้วยว่าคนที่เห็นเป็นพ่อหรือแม่ และต้องเรียกให้ถูก ต้องรู้ความหมายของคำที่พูด และรู้ว่าใช้เมื่อไหร่ กับใคร
ต่างจากภาครับ ที่เป็นเพียงแค่การเชื่อมโยงจากเสียงของคำว่า “พ่อ” กับภาพที่เห็นเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีวิธีสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือไม่ ดูได้จากพัฒนาการทางด้านภาษา ประกอบกับพฤติกรรมทั่วไป อาทิเช่น ปกติถ้าเป็นเด็กอายุ 1 ขวบจะสามารถอยู่นิ่งได้อย่างน้อย 1 นาที และเข้าใจอารมณ์ของพ่อและแม่จากคำสั่ง
หรือถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ขวบควรอยู่นิ่งได้อย่างน้อย 3 นาทีเป็นต้น
จากการอธิบายของ นพ. กิจจา ยังระบุว่า โรคสมาธิสั้น หรือพฤติกรรมสมาธิสั้น นอกจากเด็กจะสูญเสียความสามารถในการสื่อสารแล้ว ยังส่งกระทบต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการที่สมวัย และความฉลาดหรือไอคิวด้วย
เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจในสิ่งหนึ่งใดได้ไม่นาน อยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติดที่ เด็กจึงไม่สนใจการเรียน และบางครั้งยังก่อกวนความสงบสุขในชั้นเรียน รวมถึงเด็กจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
พบได้ตั้งแต่พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรรุนแรง ทำลายข้าวของ ก้าวร้าว ขาดทักษะต่างๆ เนื่องจากอดทนเล่นหรือฝึกได้ไม่นาน มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
ขณะที่การตอบรับจากสังคมต่างจากเด็กปกติทั่วไป เพื่อนไม่ชอบเล่นด้วย ความเอ็นดูจากผู้ใหญ่ที่พบเห็นมีน้อย เหล่านี้กลายเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ย้ำให้เด็กมีการออกรุนแรงมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว
การที่เด็กไม่สามารถเข้าสังคมกับบุคคลอื่นได้ ก็ยิ่งทำให้การเรียนรู้ล่าช้ามากขึ้นตาม
และถ้ายังคงปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอทีวีต่อไป พัฒนาการทางด้านภาษา สังคม และการเรียนรู้ของเด็กจะยิ่งถดถอยไปเรื่อยๆ การที่เด็กเล็กจะเติบโตเป็นวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมที่หนุนเนื่อง เพราะเด็กเรียนรู้ทุกขณะ
“ลูกเป็นอย่างไร จะเป็นภาพสะท้อนของพ่อแม่ และวิธีการเลี้ยงดู”
นอกจากทีวีจะไปสร้างความผิดเพี้ยนให้กับวงจรสมอง เนื้อหาของรายการยังมีส่วนที่กระตุ้น และหล่อหลอมพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยนให้กับเด็ก
โดยเฉพาะในเด็กวัยอนุบาลจนถึงประถมศึกษา นพ. กิจจา บอกว่าอยู่ในช่วงที่ชอบเลียนแบบและต้องการเป็นผู้ใหญ่ หากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองไม่จัดสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือปลูกฝังต้นทุนชีวิตที่ดีให้กับเด็ก ปล่อยให้เนื้อหาของรายการทีวี โฆษณาขายสินค้าทั้งทางตรง ทางอ้อมเข้ามามีอิทธิพล และหล่อหลอมพฤติกรรม รวมถึงปลูกฝังค่านิยมผิดๆ
เด็กจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รักสบาย กลายเป็นคนบริโภคนิยม ไม่ทุ่มเทให้กับการทำงาน
แม้เนื้อหาในบางรายการจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาให้กับเด็ก แต่ นพ.กิจจา ก็ยังย้ำชัดเจนว่า เด็กในวัยเรียนไม่ควรดูทีวีเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และผู้ปกครองควรเป็นผู้พิจารณาเนื้อหาของรายการให้กับเด็ก
นี่ไม่ใช่เป็นการปิดกั้นความคิด หรือพัฒนาการของเด็ก แต่การปลูกฝังระเบียบวินัย จะช่วยให้เด็กควบคุมตนเองได้เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่
เด็กยังคงมีความคิดสร้างสรรค์ได้ในกรอบระเบียนวินัย เช่นเดียวกับบ้านเมืองที่ต้องมีกฎหมาย สังคมต้องมีระเบียบวินัย
และการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น หรือตัดสิ่งเร้าออกไป ยังเป็นการควบคุมไม่ให้อาการของโรคสมาธิสั้นหรือพฤติกรรมสมาธิสั้นแสดงออก กล่าวคือในช่วง 2-3 ขวบอาจมีการแสดงออกของโรคสมาธิสั้น แต่เมื่อสมองได้มีการเรียนรู้มากระดับหนึ่งแล้ว สมองซึ่งมีความยืดหยุ่นจะปรับปรุงและพัฒนาให้เด็กกลุ่มนี้กลับมามีพฤติกรรมที่ปกติได้
ในเมื่อทีวีทำร้ายเด็กได้มากขนาดนี้ จะยังปล่อยให้ทีวีเลี้ยงลูกคุณอีกหรือ
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น