พิษภัยของทีวี:)
ผู้เชี่ยวชาญยำใหญ่ พิษภัยจากการปล่อยให้เด็กดูทีวีมากเกินไป ซึ่งมีทั้งชักนำโรคอ้วน สายตาสั้น อาการนอนไม่หลับ ภูมิต้านทานโรคลดต่ำ ไปจนถึงการแตกเนื้อหนุ่ม/สาวก่อนวัย โรคออทิสซึมและอัลไซเมอร์
ดร.ซิกแมนกล่าวหาภาครัฐที่ละเลยความเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับผลลบมากมายที่เกิดกับเยาวชน เช่น ขัดขวางพัฒนาการความก้าวหน้าในโรงเรียน และถ่ายทอดสุขภาพย่ำแย่ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้การจำกัดเวลาการดูทีวีของเด็กๆ เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อยกระดับภาวะที่เป็นสุขของเยาวชน และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข
รายงานของดร.ซิกแมนที่อิงกับผลสำรวจภายในอังกฤษยังระบุว่า เฉลี่ยแล้วเด็กจะเริ่มใช้เวลาดูทีวีตลอดทั้งปีเมื่ออายุ 6 ขวบ และกว่าครึ่งของเด็กอายุ 3 ขวบมีทีวีในห้องนอน
ดร.ซิกแมนจากบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ เสริมว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรดูทีวีเลย ส่วนเด็กที่โตกว่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพิจารณาเรื่องการดูทีวีของเด็กอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ เด็กอายุระหว่าง 3-5 ขวบควรดู ‘รายการดีๆ มีคุณภาพ’ ไม่เกินวันละครึ่งชั่วโมง และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 5-12 ขวบ และ 1 ชั่วโมงครึ่งสำหรับวัยรุ่น
นอกจากจะมีรายงานเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ไม่กี่วันว่า เด็กอังกฤษไม่มีความสุขและมีสุขภาพอ่อนแอที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ดร.ซิกแมนสำทับว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใดที่เด็กอังกฤษได้ชื่อว่าดูทีวีมากที่สุดในยุโรปด้วยเช่นกัน
“การดูทีวี ไม่ว่ารายการรูปแบบใด มีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและกระบวนการคิดในทางลบ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้ เนื่องจากในเอกสารของทางการไม่เคยมีการพาดพิงถึงทีวีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก
“การปล่อยให้เด็กดูทีวีพร่ำเพรื่อต่อไปถือเป็นการสลัดทิ้งความรับผิดชอบในการเป็นพ่อแม่คน”
รายงานของดร.ซิกแมน ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจิสต์ ระบุว่า การดูทีวีมากเกินไปมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ส่งเสริมโรคอ้วน และกระทั่งทำให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ ลดลง
การดูทีวียังส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เนื่องจากไม่มีการกระตุ้นให้สมองใช้ความคิดตรึกตรองเหมือนการอ่านหนังสือ รวมถึงมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคสมาธิสั้น
การศึกษาระยะยาวในนิวซีแลนด์ที่ติดตามผลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ได้ข้อสรุปว่า การดูทีวีมากเกินไปขณะเป็นเด็ก เกี่ยวโยงกับโอกาสประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ลดต่ำลงเมื่ออายุ 26 ปี
ขณะที่การศึกษาของอิตาลีพบว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้ดูทีวี มีระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยชะลอการเจริญเติบโตทางเพศ สูงกว่าเด็กที่ดูทีวีบ่อย
อนึ่ง รายงานของดร.ซิกแมนจำแนกพิษภัยของทีวีต่อเยาวชนไว้ละเอียดลออถึง 15 ข้อดังนี้
- โรคอ้วน เนื่องจากมีการออกกำลังกายน้อยมาก
- แสงจากทีวียับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน
- ภูมิคุ้มกันโรคลดลง การที่เมลาโทนินลดลงอาจทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์ดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เกิดมะเร็ง
- โตเป็นสาว/หนุ่มก่อนวัย ซึ่งเกี่ยวโยงกับการลดลงของเมลาโทนินเช่นเดียวกัน
- มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ของรายการทีวี
- โรคออทิสซึม หรือความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา การสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ เกิดจากการขาดการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- ไขมันในร่างกายเพิ่ม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินที่ผลิตไขมันและกระตุ้นความอยากอาหาร
- ขาดสมาธิ เนื่องจากการพัฒนาเซลล์สมองที่ควบคุมช่วงความสนใจบกพร่อง
- มีปัญหาในการอ่าน ผลจากการขาดสิ่งกระตุ้นสติปัญญาขณะเป็นเด็ก
- เบาหวานประเภท 2 จากการกินอาหารแคลอรีสูงระหว่างดูทีวี
- คลื่นที่แผ่ออกมาจากทีวีมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภูมิคุ้มกันบนผิวหนัง
- ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม เนื่องจากเด็กไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น นอกจากนั่งเฝ้าหน้าจอทีวี
- การดูทีวีอาจทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารช้าลงกว่าการไม่ทำอะไรเลย
- สายตาสั้น
- การดูทีวีมากๆ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
จาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[สสส.] www. thaihealth.or.th
หนังสือและบทความที่เกี่ยวข้อง
- คืนอิสระสู่สมองเด็กไทย แก้วิกฤตชาติ >> http://luksoshow.multiply.com/reviews/item/6
- โครงการปิดทีวี ของwechange >> http://wechange.seubsan.net/wc/index.php?option=com_content&task=view&id=38&Itemid=19
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ทีวี.. แทนพี่เลี้ยงเด็กไม่ได้
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ทีวี เพชฌฆาตสมองเด็ก
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ภูมิคุ้มกันทีวีบกพร่อง >> http://clickkids.multiply.com/journal/item/84
- รู้ทันโฆษณาแฝง (สำหรับเด็ก) เสียตอนนี้ จะจัดการกับทีวีได้ง่ายขึ้น
- การ์ตูนโทรทัศน์ : พื้นที่สื่อ พื้นที่เสี่ยงของเด็กไทย
- อิทธิพลโทรทัศน์
- “เซ็นเซอร์”ไว้ก่อน...อย่าใจอ่อนให้ลูกดู!
- ผลกระทบจากโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์.. ที่บอร์ดแสนสนุกฯ
₪₪ เราเปลี่ยน โลกเปลี่ยน อยากให้โลกเป็นอย่างไร เลี้ยงลูกให้เป็นอย่างนั้น ₪₪
ดร.ซิกแมนกล่าวหาภาครัฐที่ละเลยความเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับผลลบมากมายที่เกิดกับเยาวชน เช่น ขัดขวางพัฒนาการความก้าวหน้าในโรงเรียน และถ่ายทอดสุขภาพย่ำแย่ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น รัฐบาลควรกำหนดให้การจำกัดเวลาการดูทีวีของเด็กๆ เป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ เพื่อยกระดับภาวะที่เป็นสุขของเยาวชน และลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข
รายงานของดร.ซิกแมนที่อิงกับผลสำรวจภายในอังกฤษยังระบุว่า เฉลี่ยแล้วเด็กจะเริ่มใช้เวลาดูทีวีตลอดทั้งปีเมื่ออายุ 6 ขวบ และกว่าครึ่งของเด็กอายุ 3 ขวบมีทีวีในห้องนอน
ดร.ซิกแมนจากบริติช ไซโคโลจิคัล โซไซตี้ เสริมว่าเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีไม่ควรดูทีวีเลย ส่วนเด็กที่โตกว่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรพิจารณาเรื่องการดูทีวีของเด็กอย่างรอบคอบ
ทั้งนี้ เด็กอายุระหว่าง 3-5 ขวบควรดู ‘รายการดีๆ มีคุณภาพ’ ไม่เกินวันละครึ่งชั่วโมง และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 5-12 ขวบ และ 1 ชั่วโมงครึ่งสำหรับวัยรุ่น
นอกจากจะมีรายงานเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ไม่กี่วันว่า เด็กอังกฤษไม่มีความสุขและมีสุขภาพอ่อนแอที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ดร.ซิกแมนสำทับว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใดที่เด็กอังกฤษได้ชื่อว่าดูทีวีมากที่สุดในยุโรปด้วยเช่นกัน
“การดูทีวี ไม่ว่ารายการรูปแบบใด มีความเชื่อมโยงมากขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและกระบวนการคิดในทางลบ และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้ เนื่องจากในเอกสารของทางการไม่เคยมีการพาดพิงถึงทีวีเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก
“การปล่อยให้เด็กดูทีวีพร่ำเพรื่อต่อไปถือเป็นการสลัดทิ้งความรับผิดชอบในการเป็นพ่อแม่คน”
รายงานของดร.ซิกแมน ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจิสต์ ระบุว่า การดูทีวีมากเกินไปมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ส่งเสริมโรคอ้วน และกระทั่งทำให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ ลดลง
การดูทีวียังส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง เนื่องจากไม่มีการกระตุ้นให้สมองใช้ความคิดตรึกตรองเหมือนการอ่านหนังสือ รวมถึงมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคสมาธิสั้น
การศึกษาระยะยาวในนิวซีแลนด์ที่ติดตามผลเด็กตั้งแต่แรกเกิด ได้ข้อสรุปว่า การดูทีวีมากเกินไปขณะเป็นเด็ก เกี่ยวโยงกับโอกาสประสบความสำเร็จทางการศึกษาที่ลดต่ำลงเมื่ออายุ 26 ปี
ขณะที่การศึกษาของอิตาลีพบว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้ดูทีวี มีระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยชะลอการเจริญเติบโตทางเพศ สูงกว่าเด็กที่ดูทีวีบ่อย
อนึ่ง รายงานของดร.ซิกแมนจำแนกพิษภัยของทีวีต่อเยาวชนไว้ละเอียดลออถึง 15 ข้อดังนี้
- โรคอ้วน เนื่องจากมีการออกกำลังกายน้อยมาก
- แสงจากทีวียับยั้งการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน
- ภูมิคุ้มกันโรคลดลง การที่เมลาโทนินลดลงอาจทำให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะเกิดการกลายพันธุ์ในเซลล์ดีเอ็นเอ ซึ่งทำให้เกิดมะเร็ง
- โตเป็นสาว/หนุ่มก่อนวัย ซึ่งเกี่ยวโยงกับการลดลงของเมลาโทนินเช่นเดียวกัน
- มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ของรายการทีวี
- โรคออทิสซึม หรือความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา การสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ เกิดจากการขาดการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- ไขมันในร่างกายเพิ่ม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเลปตินและเกรลินที่ผลิตไขมันและกระตุ้นความอยากอาหาร
- ขาดสมาธิ เนื่องจากการพัฒนาเซลล์สมองที่ควบคุมช่วงความสนใจบกพร่อง
- มีปัญหาในการอ่าน ผลจากการขาดสิ่งกระตุ้นสติปัญญาขณะเป็นเด็ก
- เบาหวานประเภท 2 จากการกินอาหารแคลอรีสูงระหว่างดูทีวี
- คลื่นที่แผ่ออกมาจากทีวีมีความเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภูมิคุ้มกันบนผิวหนัง
- ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม เนื่องจากเด็กไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น นอกจากนั่งเฝ้าหน้าจอทีวี
- การดูทีวีอาจทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารช้าลงกว่าการไม่ทำอะไรเลย
- สายตาสั้น
- การดูทีวีมากๆ ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์
จาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[สสส.] www. thaihealth.or.th
หนังสือและบทความที่เกี่ยวข้อง
- คืนอิสระสู่สมองเด็กไทย แก้วิกฤตชาติ >> http://luksoshow.multiply.com/reviews/item/6
- โครงการปิดทีวี ของwechange >> http://wechange.seubsan.net/wc/index.php?option=com_content&task=view&id=38&Itemid=19
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ทีวี.. แทนพี่เลี้ยงเด็กไม่ได้
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ทีวี เพชฌฆาตสมองเด็ก
- ยักษ์(ใน)จอตู้ : ภูมิคุ้มกันทีวีบกพร่อง >> http://clickkids.multiply.com/journal/item/84
- รู้ทันโฆษณาแฝง (สำหรับเด็ก) เสียตอนนี้ จะจัดการกับทีวีได้ง่ายขึ้น
- การ์ตูนโทรทัศน์ : พื้นที่สื่อ พื้นที่เสี่ยงของเด็กไทย
- อิทธิพลโทรทัศน์
- “เซ็นเซอร์”ไว้ก่อน...อย่าใจอ่อนให้ลูกดู!
- ผลกระทบจากโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์.. ที่บอร์ดแสนสนุกฯ
₪₪ เราเปลี่ยน โลกเปลี่ยน อยากให้โลกเป็นอย่างไร เลี้ยงลูกให้เป็นอย่างนั้น ₪₪
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น